วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อจ.ประเวศ วะสี กับ มูลนิธิพุทธฉือจี้

ร่วมด้วยช่วยกันเยียวยาโลก ธรรมสัญจร สู่มูลนิธิพุทธฉือจี้
๑๖
อรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์
พลังแห่งศรัทธา คือหลักประกันสุขภาพ

การ ศึกษาดูงานที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากมีท่านผู้ใหญ่ เช่น ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี และอาจารย์แพทย์หลายท่านร่วมอยู่ในคณะดูงานด้วย จากการดูงานมูลนิธิพุทธฉือจี้ที่ไทเปและฮวาเหลียน ๕ วัน พวกเราได้เข้าใจและเข้าถึงแก่น ของจิตวิญญาณของฉือจี้ ทำให้เกิดพลังศรัทธาที่เสริมหนุนให้อยากกลับมาทำสิ่งดีๆ ในประเทศไทยมากขึ้นไปอีก

แก่นแท้ของฉือจี้ ที่ได้ค้นพบ คือการยึดถือหลักธรรม คุณธรรมของพุทธศาสนาและความรัก ความเมตตา กรุณา ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นหลักการพื้นฐานในการทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปฏิบัติ สำเร็จสมความปรารถนา โดยมีการถ่ายทอดผ่านคำสอนของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนให้แก่สมาชิกฉือจี้ อย่างสม่ำเสมอ การนำกรณีศึกษาการทำความดีช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ต่างๆ ของเหล่าอาสาสมัครฉือจี้ ถ่ายทอดผ่านทางการประชุมทางไกล และสถานีโทรทัศน์ต้าอ้ายไปทั่วประเทศและทั่วโลก

การมีวาทะธรรม ปรากฏไว้ในสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ซึมซับเข้าในจิตใจของผู้พบเห็น ที่ปรากฏทั้งในสมณารามของท่านธรรมาจารย์ เจิ้งเหยียน ในหอสวดมนต์ (จิ้งซือถัง) ในมหาวิทยาลัยแพทย์ฉือจี้ ในโรงพยาบาลและโรงเรียนต่างๆของมูลนิธิพุทธฉือจี้ และในนิทรรศการต่างๆ ที่แสดงเนื่องในโอกาสครบ รอบ ๔๐ ปี ของมูลนิธิ ตัวอย่างเช่น

* การร่วมใจ รวมพลัง แบ่งปันความรัก และร่วมแรงช่วยเหลือกัน (เหอซิน เหอชี่ หูอ้าย เสี่ยลี่)
* หากมีใจที่มุ่งมั่นก็จะไม่พบ กับความทุกข์ยาก (โหย่ว ซินจิ้วปู้ขุ้นหนาน)
* ความรักอันยิ่งใหญ่ ย่อมไร้พรมแดน (ต้าอ้ายอู๋ซื่อเจี้ย)
* ความรักอันยิ่งใหญ่ทำให้โลก สว่างไสวขึ้นมาได้ (ต้าอ้ายยั่งซื่อเจี้ยเหลียงฉี่หลาย)

ที่ สำคัญได้กล่าวถึงบุคลากรทางการแพทย์ว่า นายแพทย์ทั่วไปมักจะมุ่งรักษาแต่โรค แต่นายแพทย์ ที่มีคุณธรรมจะรักษาที่จิตใจด้วย (เสี้ยอีอีปิ้ง สั้งอีอีซิน)
แม้แต่ ในห้องน้ำหญิงที่สมณา-รามของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ก็ยังเขียนไว้ว่า จิตใจที่ดีงามย่อมมองทุกสิ่งด้วยความราบรื่นสวยงาม (ซินเหม่ย คั่นเซิมเมอโตวซุ่นเอี่ยน) นับว่าเป็นจิตวิทยาและวิธีการที่เยี่ยมยอดในการหล่อหลอมขัดเกลาจิตใจผู้คน ให้เป็นคนดีและทำความดี โดยให้ซึมซับเข้าไปในจิตวิญญาณโดยไม่รู้ตัว

นอก จากนี้ ภารกิจของฉือจี้ ๔ ประการที่กำหนดได้แก่ ภารกิจด้านการกุศล ภารกิจด้านการรักษาพยาบาล ภารกิจด้านการศึกษาและภารกิจด้านวัฒนธรรมนั้น ถือได้ว่าฉือจี้ได้มุ่งเน้นที่ความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง โดยต้องการช่วยเหลือให้มนุษย์ทุกคนพ้นทุกข์และอยู่ในสังคมได้อย่างมี ศักดิ์ศรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะหรือความยากดีมีจน ซึ่งได้ปรากฏเป็นรูปธรรมมากมายให้เราสามารถศึกษาเรียนรู้ได้

สิ่ง ที่น่าสนใจอย่างมากอีกประการ หนึ่งคือ เหล่าอาสาสมัครฉือจี้ ซึ่งมี อยู่ถึง ๔ ล้านคนทั่วโลกในระยะ ๔๐ ปี ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าพวกเขาได้ถูกหล่อหลอมและนำเอาจิตวิญญาณของฉือจี้ซึมซับเข้าไว้ ภายในจิตใจ เพื่อช่วยกันทำความดี ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก เราจะได้เห็นอาสาสมัครฉือจี้ในที่ต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าในโรงพยาบาลของมูลนิธิ ในชุมชนคนยากจนและสถานที่ที่ประสบภัยพิบัติทั่วโลก อาสาสมัครเหล่านี้เป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน พร้อมจะเสียสละ ทั้งกำลังกาย กำลังใจและกำลังทรัพย์ และล้วนมีจิตใจที่ต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ต้องการทำความดีอยู่เบื้องหลังโดยไม่ประกาศให้สาธารณะได้รู้ และได้พบว่าในประเทศไทยก็มีอาสาสมัครฉือจี้อยู่ถึงเป็นพันคน ที่พร้อมที่จะทำความดีเพื่อช่วยเหลือเพื่อนคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากเช่นกัน

สิ่ง สำคัญหลังจากการศึกษาดูงานครั้งนี้คือ เราจะนำจิตวิญญาณฉือจี้และเรื่องดีๆ ที่กล่าวข้างต้นมาปรับใช้ และทำอะไรต่อไปให้เกิดประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์คนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากให้มาก ขึ้น ในที่นี้พอจะสรุปได้ดังนี้

๑. สิ่งที่ทุกคนเห็นชาวอาสาสมัคร ฉือจี้ทำคือเป็นการทำให้คนอื่น แต่ชาวฉือจี้คิดว่าเป็นการทำให้ตัวเอง บุคลิกที่ประทับใจคือการดูแลเอาใจใส่เอื้ออาทร ความนอบน้อมถ่อมตน ซึ่งมีอยู่เช่นกันในสังคมไทยมานานแล้ว
๒. บริบทสังคมไทยเป็นไปได้ที่จะ ทำสิ่งนี้ เช่น นักศึกษาออกไปช่วยสังคม อุดมคติที่อยู่ในฉือจี้ ต้าอ้าย-ความรักที่ยิ่งใหญ่Ž ถ้าเราจะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในสังคมไทยจะดีมาก เราต้องจับให้ถึงจุด เข้าให้ถึงแก่น
๓. หลักประกันสุขภาพ อยากให้คนไทยทุกคนมีหลักประกัน เจ็บป่วยเข้าถึงหลักประกันได้ เศรษฐฐานะไม่เป็นอุปสรรค อยากปฏิรูประบบสุขภาพโดยให้ระบบบริการสุขภาพเปลี่ยนจากmodernized เป็น humanized โดยใช้แนวทางของฉือจี้ผสมกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทุกคน มีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ
๔. รูปธรรมหนึ่งคือ การจัดบริการสุขภาพแบบใหม่ๆ การสร้างคน อาสาสมัคร การมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผู้ป่วย ผู้ดูแลในระบบบริการสุขภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ริเริ่มจัดให้มีศูนย์ส่งเสริม มิตรภาพบำบัดในหน่วยบริการ ๑๔ แห่ง ที่เน้นเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้ป่วยช่วยผู้ป่วย เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ซึ่งคือจิตวิญญาณของฉือจี้นั่นเอง
๕. ควรมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับมูล นิธิฉือจี้ทั้งในประเทศไทยและดินแดนไต้หวัน กับเครือข่ายอาสาสมัครต่างๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพในปัจจุบัน เพื่อช่วยกันส่งเสริมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ตอบสนองความต้องการของคน ไทยโดยเฉพาะผู้ป่วย ผู้ทุกข์ยากต่างๆ
๖. สิ่งที่เราได้แลกเปลี่ยนกันจาก การดูงานในครั้งนี้ ปีหน้าควรมาพบปะกันอีก เพื่อมาเล่าสู่กันฟังว่า เราได้ทำอะไรด้วยจิตวิญญาณฉือจี้นี้ไปบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมา


ธรรมสัญจร สู่มูลนิธิพุทธฉือจี้
Sat, 09/20/2008 - 17:37 — somsak ข้อมูลของสื่อ
File Name: 346-016 เล่ม: 346 เดือน-ปี: 02/2008
คอลัมน์: บนเส้นทางชีวิต
หมวดหมู่: สุขภาพพอเพียง, จิตอาสา/ ฉือจี้, อารมณ์
ผู้เขียน: นพ.ประเวศ วะสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น